"ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป"
ผู้ประกอบการควรทราบ

ผู้ประกอบการที่พึ่งเริ่มประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบธุรกิจการค้ามานานเพียงใดควรทราบ สิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ความจำเป็นในการจัดทำบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามกฏหมาย

2. การเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล

3. การเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย

4. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

5. การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

6. กฏหมายเฉพาะสำหรับกิจการบางประเภท(ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้องให้ข้ามไป)

7. กฏหมายแรงงานและประกันสังคม

 1. ความจำเป็นในการจัดทำบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฏหมายกำหนด    การจัดทำบัญชี เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการมักมองข้าม โดยคิดว่า มอบหมายให้สำนักงานบัญชี หรือ นักบัญชี จัดทำแล้วก็ไม่ต้องสนใจหรือกังวลใจใดใด ในข้อเท็จจริงแล้ว ความรับผิดชอบ ส่วนหนึ่งยังอยู่กับเจ้าของกิจการ เพราะกฏหมายได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ประกอบการมีหน้าที่รับผิดชอบอะไร ผู้จัดทำบัญชีมีหน้าที่อย่างไร

หากเกิดข้อผิดพลาดอันใดขึ้นเป็นการยากที่ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงปัญหาได้  เพราะเมือเราตัดสินใจประกอบกิจการใดใดแล้ว จุดมุ่งหมายสำคัญคือความสำเร็จและการดำรงค์อยู่ของกิจการ และหากเกิดปัญหาใดใดขึ้นเรามักจะเป็นคนสุดท้ายที่อยู่กับการกิจของเรา ในบทความนี้มีความประสงค์ที่จะชี้นำให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจในวงจรบัญชี อย่างคราวๆ และเข้าใจกฏหมายบัญชีโดยสังเขป

ส่วนประกอบของวงจรบัญชี มีดังนี้

1. เกิดรายการค้า

2.วิเคราะห์รายการค้า

3.บันทึกรายการค้าในสมุดรายวันขั้นต้น

4.ผ่านไปบัญชีแยกประเภท

5.Footing (หายอดคงเหลือซึ่งปัจจุบันในการทำงานจริงไม่มีการทำแล้วเนื่องจากโปรแกรมคอมฯให้ยอดคงเหลือแล้ว)

6.งบทดลองก่อนรายการปรับปรุง

7.ปรับปรุงบัญชี

8.งบทดลองหลังรายการปรับปรุง

9.ปิดบัญชี

10.จัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด หมาย เหตุประกอบงบการเงิน

11.การจัดทำงบรวมกิจการ

(1)       งบแสดงฐานะของกิจการ

(2)       งบกำไร-ขาดทุนรวม

(3)       งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

(4)       งบกระแสเงินสดรวม

12.การวิเคราะห์งบการเงิน

13.การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน

สิ่งที่ท่านต้องให้ความสำคัญและรับรู้คือ การเกิดขึ้นของรายการค้า ที่ท่านจะต้องรวบรวมและส่งให้นักบัญชีจัดทำบัญชีใช้ครบถ้วนตั้งแต่ข้อ 2 - 13  และท่านจะต้องให้ความสำคัญกับส่วนที่ 10 - 13. โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่ 13 เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกิจการ อันเกิดจากการทุจริต ของพนักงานหรือของคู่ค่าของท่าน

ส่วนกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี มีดังนี้

1. กฏหมายแห่งพาณิชย์

2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2535

3. ประมวลรัษฏากร

สิ่งที่ท่านต้องเรียนรู้คือ มีกฏหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับท่านในช่วงเกิดรายการค้าบ้างและท่านจะต้องดำเนินการอะไรบ้างในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกิดรายการค้า

 

2. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล   การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยปรกติ จะต้องเสีย ปีละ 2 ครั้ง คือภาษีกลางปี และ ภาษีเงินได้ประจำปี โดยภาษีเงินได้กลางปีจะประมาณการจากรายได้หักรายได้ว่ามีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ และนำไปคำนวณภาษีเงินได้ โดยใชแบบ ภงด.51 เสีย ภายในสองเดือน นับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบบัญชี ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี จะคำนวณจากกำไรสุทธิตามรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้แบบ ภงด.50  ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

(รอบระยะเวลาบัญชี หมายถึงรอบบัญชี 12 เดือน )

 

3.การเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย    หมายถึงการหักเงินจากผู้รับเงินบางส่วนเพื่อนำไปจ่ายภาษีในเดือนต่อไปโดยหักเป็นเปอร์เซนต์ ตามที่กฏหมายกำหนด วิธีนี้กิจการมีหน้าที่ หักเงินภาษีจากการจ่ายเงินบางประเภทเพื่อส่งมาเสียให้กับรัฐ ภายใน วันที่ 7 ของเดือนถัดไปและผู้ถูกหักเงิน จะต้องได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้หักเงินด้วยทุกครั้ง ภาษีส่วนของผู้ถูกหัก ถือเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จ่ายล่วงหน้าไปก่อนหากกิจการมีภาระภาษีที่จะต้องจ่ายในปีน้อยกว่าส่วนที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ สามารถขอคืนเงินภาษีส่วนนี้ได้ ภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด  ส่วนผู้มีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่ายมีหน้าที่ รวมรวมภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายไว้ในแต่ละเดือน เพื่อนำส่งในเดือนถัดไป ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบ ภงด. 1 สำหรับเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายประเภท เงินเดือนของพนักงาน  แบบ ภงด.3 สำหรับเงินที่หัก ณ ที่จ่าย จากบุคคลธรรมดา และ แบบ ภงด.53 สำหรับเงินที่หัก ณ ที่จ่าย จากนิติบุคค

 4. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม